วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

google site

การสร้างเว็บไซต์ด้วย Google sites

การสร้างเว็บไซต์แบบฟรีๆไม่เสียเงิน หลังจากที่เสนอการทำเว็บเกี่ยวกับ Blogger.com กันไปหลายบทความแล้ว
วันนี้มาถึงตา Google sites มั่ง ฟรีเหมือนบริการของ Blogger.com แต่สามารถปรับแต่งอะไรได้ตรงใจเราได้
เยอะแยะไปหมดเลยค่ะ แต่วันนี้เราจะมาเริ่มต้นขั้นพื้นฐานกันก่อนกับการสร้างเว็บด้วยบริการของ Google sites
ว่าแล้วก็ลงมือกันเลยค่ะ
1.เข้าไปที่ www.google.com/sites ก่อนแล้วล็อคอินด้วยแอ็กเคานต์ของ Gmail
sites
2.มาถึงหน้านี้แล้วให้คลิก”สร้างเว็บไซต์”กันได้เลยค่ะ
sites (1)
3.ให้เราทำการเลือกธีมที่เราชอบหรือใครอยากสร้างธีมเองก็ได้  แต่ถ้าขี้เกียจขอเอาธีมสำเร็จรูปแล้วกัน อิอิ
หากที่มีมาให้ไม่พอก็คลิ๊กที่ “เลือกดูเพิ่มเติมในแกลเลอรี่” เพื่อเข้าไปเลือกธีมอื่นๆ
sites (2)
-คลิกที่เครื่องหมายบวกตรง”เลือกธีม” ก็เป็นการกำหนดรูปแบบธีมนั้นเอง
-คลิกที่เครื่องหมายบวกตรง”ตัวเลือกเพิ่มเติม”จะสามารถใส่คำอธิบายเว็บพร้อมระบุผู้เข้าชมได้ด้วย ว่าเราจะให้คนทั่ว
โลกเข้าชมหรือบางกลุ่มเท่านั้น สามารถระบุได้ด้วย
หลังจากนั้นให้ทำการตั้งชื่อเว็บของเรา คิดให้ดีๆก่อนค่ะว่าจะเอาชื่ออะไรแล้วค่อยตั้งทีเดียวไปเลย กรอกแล้วก็จะได้ชื่อเว็บ
เราออกมา ยกตัวอย่างเช่น https://sites.google.com/site/ ตามด้วยชื่อเรา แล้วทำการยืนยันโดยกรอกรหัสที่เรามองเห็น
ลงไปเลย แล้วคลิก สร้างเว็บไซด์
4.ตรงจุดนี่เราสามารถแก้ไขหน้าเว็บของเราได้ตามสะดวก ใครอยากลงบทความก็ให้เลือกไปที่ “สร้างหน้าเว็บ” กันเลย
sites (4)
5.ให้เราตั้งชื่อไซต์บทความของเราแล้วเลือก “สร้างหน้าเว็บ” หาเอาชื่อเท่ห์ๆตั้งลงไปเลย
sites (5)
6.หน้านี้ให้เราเขียนบทความลงไปในช่องสี่เหลี่ยมๆ โดยจะมีเครื่องมือเหมือนไมโครซอร์ฟออฟฟิตเกือบทุกอย่าง
อยู่ด้านบนทั้งหมดไม่ยากใช่ไหมล่ะ เขียนบทความเสร็จแล้วให้แล้วคลิก”บันทึก”  เขียนลงในช่องหรือบล็อกนี้เลยนะเธอ
site2
sites (6)
7.ได้บทความมาแล้วง่ายดีไหมค่ะ หากจะแก้ใขบทความก็ให้ไปที่”แก้ไขหน้าเว็บ”ได้เลยค่ะ
sites (7)
นี่เป็นแค่การสร้างเว็บไซต์ขั้นเริ่มต้นของบริการของ Google sites เท่านั้นนะค่ะ เรายังสามารถปรับแต่งได้อีกเยอะแล้ว
แต่จิตนาการของเราเลย  ลองๆเล่นดูนะค่ะเพราะเป็นบริการฟรีไม่เสียค่าใช้จ่ายๆใดๆทั้งสิ้น

**********************************************************************************************************************

Google Finance

Google Finance เป็นบริการเว็บแอพพลิเคชันสำหรับดูข้อมูลการซื้อขายในตลาดหุ้นจาก Google ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2006 ซึ่งจะทำ การวิเคราะหุ้นจากตลาดดังๆอย่าง วอลสตรีท แนสแด็กซ์ และอื่นๆ

ล่าสุด ได้เปิดให้บริการดูข้อมูลหุ้นในประเทศไทย และได้รับการรับรองจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ SET เป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ
ภายในฟีเจอร์ไทยของ Google Finance นั้นประกอบไปด้วย ข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้น, มีกราฟเทคนิคอล กราฟราคาระดับ แต่จะดีเลย์ประมาณ 10-15 นาที, เครื่องมือวัดดัชนีราคา, ข้อมูลปริมาณซื้อขาย และมี compare chart เปรียบเทียบราคาหุ้นหลายตัว รวมถึงฟีเจอร์ข่าววงการหุ้นได้อีกด้วย

Google Finance ก็มีหุ้นไทย แต่ยังไม่ครบสมบูรณ์ ลองดู PTT กันดีกว่า ของ Google กับ Yahoo อันนี้คือ Google แบบขาดไปเยอะ เทียบกับ Yahoo ที่ขาดไปเยอะเหมือนกัน อะไรน่าสนใจกว่า สำหรับผมเลือก Google ดีกว่า (ผมไม่ได้เล่นหุ้นนะครับ)
ทีนี้ลองมาดู Google เทียบกับ Yahoo แบบสมบูรณ์ทั้งคู่ด้วย YHOO กันบ้าง ก่อนอื่นต้องบอกว่า yahoo ใช้ยากกว่าหน่อย ผมก็ไม่รู้ว่ามันคือ yhoo เลยใส่ yahoo เข้าไป ปรากฏว่าเจอ 3 ชื่อ เลือกซะก็จบ แต่ของ Google พิมพ์เหมือนกัน เจอทันที น่าประทับใจมาก พอเห็นกราฟของ Google ผมก็ใจละลายทันที งามซะจนน่าทึ่ง เอา Zeitgeist มาใช้เต็มๆ ในขณะที่ Yahoo ให้ข้อมูลการวิเคราะห์น่าดูจะดี (ดูไม่เป็น) กับโฆษณาใหญ่มาก ไม่ประทับใจซักนิด

google plus

Google+ (Google Plus) คือโครงการของ Google ที่มีความพยายามมานานหลังจากมีการออกมายอมรับก่อนหน้านั้นว่า Google ขยับตัวช้าไปในเรื่องนี้แถมยังมีข้อเสนอพิเศษให้กับพนักงานที่สามารถคิดโครงการ Social Networks ให้ออกมาประสบความสำเร็จอีกด้วย
โดยก่อนหน้านี้เราคงเห็นปุ่ม Google + ที่เปิดตัวกันไปก่อนหน้านี้แล้วซึ่งหลายคนก็ยังมีข้อสงสัยกันอยู่ว่ากดไปแล้วมันจะได้อะไรแหล่งปลายทางของข้อมูลที่กด Google+
นั้นจะไปอยู่ที่ไหน
วันนี้ทาง Google เปิดตัว Social Networks ของตัวเองแล้วโดยใช้ชื่อว่า Google + (Plus) นั่นเองโดยเข้าไปเล่นกันได้ที่ https://plus.google.com
Google + ใช้ชื่อ Tagline เอาไว้ว่า “Real-life sharing, rethought for the web” ซึ่งแน่นอนนี่คือคำเฉลยของข้อมูลจากปุ่ม Google+ ที่ออกมาก่อนหน้านี้
จะเห็นว่าใน Google + นั้นมีการใช้คำว่า +Circles คือระบบเพื่อนนั่นเองที่จะสามารถสร้างกลุ่มเพื่อนเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ และสามารถกำหนดเป็นกลุ่มๆได้ อย่างเช่น “เพื่อน”, “ครอบครัว” และกำหนดจำนวนคนในกลุ่มได้มากกว่า 100 คนเพื่อใช้พูดคุยกันบนโลกออนไลน์ได้
ต่อจากนั้นก็เป็นเรื่องของการพูดคุยกันใน Google + โดยจะทีการใช้ชื่อว่า +Sparks ที่มันจะคอยทำหน้าที่กำหนดสิ่งที่เราสนใจต่างๆเพื่อเข้าไปแชร์ ดูข้อมูลหรือสนทนาได้ (แบบ Group ) ยกตัวอย่างเช่นเราสนใจเรื่อง “รถยนต์”, “การ์ตูน”, “แฟชั่น” เป็นต้น ซึ่งเราสามารถระบุสิ่งที่ชื่นชอบเหล่านั้นได้แล้วก็จะมีข้อมูล feed เข้ามาให้เราได้ดู คล้ายหลักการการเป็น Fan ของ Facebook นั้นเองที่เรากด Like แล้วเมื่อต้นทางมีการอัพเดทข้อมูลเราก็จะได้เห็นด้วย แต่ +Sparks จะดึงข้อมูลจาก Internet ที่มากกว่าผ่านปุ่ม Google + เข้ามาแสดงผลด้วยซึ่งมันรองรับภาษาถึง 40 ภาษาในช่วงการเปิดตัวนี้เลย
ฟีเจอร์ต่อไปนี้ถือว่าหลายคนคงชื่นชอบนั้นคือ +Hangouts ฟังชื่อก็รู้แล้วว่ามันต้องเจ๋งแน่ๆ เพราะมันเป็นการกำหนดอนาคตว่าเราต้องการจะไปปาร์ตี้ (ไปทำอะไรก็แล้วแต่) โดยเพื่อนๆสามารถเห็นว่าเรา “ว่าง” พร้อมที่จะออกไปสนุกสนานเรียกให้เพื่อนๆเข้ามาสนุกกับเราด้วย หรือจะเรียกว่ามันคือฟีเจอร์นัดพบก็ว่าได้ แต่มันก็ไม่จำเป็นแค่เพื่อนเท่านั้นที่จะมาเจอกัน เพื่อนของเพื่อนหรือจะใครต่อใครก็ได้เช่นกัน
ขาดไม่ได้เลยในยุคนี้คือ Chat และแน่นอน Google ให้ความสำคัญกับฟีเจอร์นี้พอสมควรโดยใช้ชื่อฟีเจอร์นี้ว่า + Huddle ซึ่งมันสามารถทำการพูดคุยกันเป็นกลุ่มๆได้ด้วยเหมาะสำหรับการทำเป็น Gang ซึ่งถ้าหลายคนเคยใช้งาน BlackBerry Messenger คงคุ้นกับการสนทนาเป็น Group messaging นี้ดี
และเพื่อให้ Google + สมบูรณ์แบบก็จะต้องมีบนมือถือด้วยโดย Google + พร้อมให้ดาวน์โหลดไปใช้บนมือถือที่เรียกว่า +Mobile โดยมีฟีเจอร์ต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นครบสมบูรณ์บนมือถือกันเลย ซึ่งในอนาคตมันคงจะเข้าไปอยู่บนระบบ Android ที่เป็นระบบปฏิบัติการบนมือถือของ Google อีกด้วย โดยไปดาวน์โหลดมาใช้งานกันได้แล้วที่ A ndroid market
ว่าแล้วก็ไปลองใช้ Social Networks ตัวล่าสุดนี้กันเลยว่าจะสู้ Facebook อย่างที่ทาง Google คาดหวังไว้หรือไม่

Google Earth

5 สิ่งยอดเยี่ยมที่คุณสามารถทำได้ง่ายๆ ใน Google Earth

ต้องการเข้าใช้งานและเริ่มต้นความสนุกสนานไปกับ Google Earth? ลองวิธีดังต่อไปนี้:
  1. ดูภาพบ้านของคุณ โรงเรียน หรือสถานที่ใดก็ได้บนโลกใบนี้ - คลิกที่ บินไปที่ ป้อนตำแหน่งในช่องป้อนข้อมูล และคลิกที่ปุ่ม ค้นหา ในผลการค้นหา (แผงสถานที่) ให้ดับเบิลคลิกที่ตำแหน่ง Google Earth จะพาคุณบินไปที่ตำแหน่งนี้
    ปุ่มค้นหา ปุ่มค้นหา
  2. ท่องโลก - ในแผงสถานที่ ให้เปิดโฟลเดอร์ เรียนรู้และสำรวจ และดับเบิลคลิกที่ สำรวจ
  3. หาเส้นทางการขับขี่จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง และบินไปตามเส้นทาง - โปรดดูที่ การหาเส้นทาง และ การเดินทางไปตามเส้นทาง
  4. ดูสถานที่และลักษณะรูปร่างที่ยอดเยี่ยมที่สร้างโดยผู้ใช้รายอื่นของ Google Earth - ในแผงเลเยอร์ เข้าไปดูที่ หน้าแสดงของชุมชน เครื่องหมายบอกตำแหน่งและลักษณะรูปร่างอื่นๆ ที่น่าสนใจจะปรากฏขึ้นในมุมมองภาพ 3 มิติ ดับเบิลคลิกจุดที่น่าสนใจเหล่านี้เพื่อดูและสำรวจ ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ การใช้จุดที่น่าสนใจ (POI)
  5. ดูภาพภูมิประเทศของสถานที่ในแบบ 3 มิติ - คุณลักษณะนี้ช่วยเพิ่มความสนุกมากขึ้นสำหรับการดูภูมิประเทศที่เป็นเนินเขาหรือภูเขา เช่น แกรนด์แคนยอน ไปยังตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง (ดู ข้อ ) เมื่อมุมมองแสดงตำแหน่งนั้นแล้ว ให้ใช้แถบเลื่อนการซูมเพื่อเอียงภูมิประเทศ ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ การใช้ตัวควบคุมทิศทาง และ การเอียงและการดูภูมิประเทศที่เป็นภูเขา

Google Chrome

Google Chrome

คีย์ลัด บน Google Chrome

ก่อนที่จะไปถึงเรื่อง ส่วนเสริม หรือฟังก์ชั่นเด็ดๆของ Google Chrome นั้น เรามาเริ่มกันที่เรื่องง่ายๆกันก่อน เริ่มกันที่ คีย์ลัด บน Google Chrome เชื่อได้ว่า หลายๆท่านอาจจะเคยใช้ คีย์ลัด ที่เป็นของระบบปฏิบัติการ Windows มาบ้าง อย่างน้อยก็ Copy Paste (Ctrl + C , Ctrl + V) ที่น่าจะถูกใช้บ่อยสุด ซึ่งแน่นอนครับว่า มันช่วยในเรื่องของความเร็วในการใช้งาน และ บน Google Chrome ก็เช่นกัน หากเราสามารถใช้คีย์ลัดเหล่านี้ได้คล่อง ก็น่าจะช่วยให้เราใช้งาน Google Chrome ได้ดียิ่งขึ้นแน่นอน
Ctrl + N : ใช้สำหรับ เปิดหน้าต่าง Google Chrome เพิ่มอีกหนึ่งอัน (Open New Window)
Ctrl + T : ใช้สำหรับ เปิด Tab ใหม่ ในหน้าต่างเดิม (Open New Tab)
Ctrl + Shift + N : เปิด หน้าต่าง Google Chrome เพิ่ม ในโหมด Incognito
Ctrl + Shift + T : เปิด Tab ที่เคยปิดไปล่าสุด สูงสุด 10 Tab
ALT + F หรือ ALT + E : เปิดเมนูบาร์ Google Chrome
Ctrl + Shift + B : เปิด / ปิด แถบ Bookmark
Ctrl + H : เปิดดู History
Ctrl + J : เปิดดูรายการดาวน์โหลด
Shift + ESC : เปิด Google Chrome Task Manager เพื่อดูว่าหน้าไหนที่ทำให้ระบบช้า และเลือกปิดได้
สำหรับ Incognito Mode นั้น คือ โหมดส่วนตัว ซึ่งข้อมูลเว็บไซต์ที่เราเข้าด้วยโหมดนี้ จะไม่ถูกเก็บลง History นั่นเอง และนี่เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของจำนวน Shortcut ที่มีอยู่บน Google Chrome นะครับ และถึงแม้ว่ามันจะดูเหมือนเยอะจนไม่น่าจะจำได้ แต่ถ้าหากเราใช้บ่อยๆ ในทุกๆวัน ก็น่าจะชินไปเองครับ

เปลี่ยนไอคอน Google Chrome เป็น สีทอง (Gold Version)


สำหรับฟังก์ชั่นนี้ ไม่น่าจะช่วยเรื่องการใช้งานสักเท่าไหร่ เพียงแต่ อาจจะใช้เพิ่มความหรูให้กับผู้ใช้ได้บ้าง หรือจะเอาไว้โม้เพื่อนว่าเป็นเวอร์ชั่นพิเศษ Gold Edition ก็สามารถทำได้ ซึ่งจริงๆแล้ว เทคนิคนี้ เป็นเพียงแค่การเปลี่ยน Icon เป็นสีทอง ซึ่งเป็นไอค่อนที่ทาง Google ได้แนบมาไว้ให้อยู่แล้วครับ ซึ่งวิธีเปลี่ยนก็ง่ายๆ เลย เพียงแค่คลิกขวาที่ Icon Google Chrome แล้วเลือก Property หลังจากนั้นให้เลือก Change Icon ก็จะเห็น Icon ของ Google Chrome ที่เป็นสีทองมาให้เลือกกันแล้วล่ะ

Favicon บน แถบ Bookmark

เมื่อเราทำการ Bookmark หน้าเว็บใดๆก็ตาม หน้าที่เราดำเนินการล่าสุด จะถูกเพิ่มลงในแถบ Bookmark ซึ่งจะมี Icon ของเว็บเพจนั้นๆ และตามมาด้วยข้อความของเว็บไซต์ดังกล่าว ซึ่งถ้าหากเราต้องการที่จะทำให้ ข้อความเหล่านั้นหายไป เหลือเพียงแค่ Icon ของเว็บไซต์นั้นๆ เพื่อประหยัดเนื้อที่ และยังสามารถ เพิ่มเว็บไซต์ในแถบ Bookmark ให้มีจำนวนมากยิ่งขึ้นได้ก็ทำวิธีนี้กันเลย
ซึ่งวิธีทำนั้นก็ไม่ยากเลยครับ ก่อนอื่น ต้องมั่นใจว่า แถบ Bookmark ได้เปิดไว้ หรือถ้าหากยังไม่ได้เปิด ก็ลองใช้คีย์ลัดที่เราเพิ่งได้อ่านผ่านมาก่อนหน้าดูได้เลย (Ctrl + Shift + B เพื่อเปิดแถบ Bookmark) หลังจากนั้น หากเรามี Bookmark ไว้อยู่แล้ว ให้ทำการคลิกขวาที่ Bookmark ที่เราต้องการจะลบข้อความออก แล้วเลือก Edit เมื่อกดแล้วเราจะเห็นหน้าต่างใหม่เพิ่มขึ้นมา โดยจะมีช่อง Name อยู่ ให้ทำการลบข้อความที่อยู่ในช่อง Name ออกให้หมด แล้วกด Save เพียงเท่านี้ แถบ Bookmark ดังกล่าว ก็จะเหลือแค่ Icon อย่างเดียวเท่านั้น

ตั้งค่าหน้า Home ได้ตามใจ

บราวซ์เซอร์ท่ัวไป อาจจะตั้งหน้า Home หรือหน้าแรก เมื่อเปิดบราวเซอร์ขึ้นมาได้แค่เพียงเว็บไซต์เดียว แต่ถ้าหากเรามีหน้าเว็บที่อยากตั้งเป็นหน้า Home มากกว่าหนึ่งล่ะ Google Chrome ช่วยคุณได้ ซึ่ง บน Google Chrome นั้นสามารถเพิ่มหน้า Home ได้มากกว่าหนึ่งหน้า ซึ่งเมื่อคุณเปิด บราวเซอร์ขึ้นมา ทุกเว็บที่คุณได้ต้ังค่าเอาไว้ จะถูกเปิดมาพร้อมๆกันในครั้งเดียว (แยก Tab) ซึ่งวิธีทำก็ไม่ยากเลยครับ เพียงแค่เราไปที่เมนู แล้วเลือก Setting หลังจากนั้นให้คลิกเลือกที่ Open a specific page or set of pages และเลือก Setpage ซึ่งในหน้า Setpage นี่เอง ที่เราสามารถเพิ่มเว็บไซต์ต่างๆได้ตามใจชอบ

แกล้งเพื่อนของคุณด้วย Fake Edit

นี่เป็นอีกหนึ่งวิธี ที่จะแกล้งเพื่อนของคุณด้วยวิธีง่ายๆ ถ้าหากคุณสามารถแก้ไขข้อความต่างๆบนเว็บไซต์ชื่อดัง และ เซฟ Screenshot ไปให้เพื่อนดูได้ คิดว่าน่าสนุกขนาดไหน ยกตัวอย่างจากภาพด้านบน เป็นหน้าเว็บที่ถูกแก้ไขหัวข้อของข่าวเป็น บริษัท AMD ซื้อ Intel ด้วยราคา 35 ล้านเหรียญ ซึ่งจะเห็นว่า URL นั้นยังคงเป็น URL เดิม ไม่ต้องเหนื่อยมานั่งตัดต่อด้วย Photoshop อีกด้วย วิธีทำก็ง่ายๆเลยครับ เพียงแค่เราคลิ๊กขวาตรงส่วนไหนก็ตามที่เราอยากแก้ไข แล้วเลือก Inspect Element หลังจากนั้น Google Chrome จะเปิดหน้าต่างสำหรับ Developer ขึ้นมา และมาร์คจุดที่เราเลือกเมื่อสักครู่เอาไว้ ทีนี้ เราแค่ดับเบิ้ลคลิ๊กในส่วนที่อยากจะแก้ แล้วก็พิมข้อความไปได้ตามใจชอบเลยล่ะ

ความคุม Google Chrome ให้ได้ดั่งใจ

สำหรับ Google Chrome นั้นยังมีหน้าพิเศษ ที่ให้เราสามารถเปิดปิด ความสามารถของ Google Chrome ได้อีกด้วย ซึ่งหากเราลองพิมคำว่า chrome://flags/ ลงไปในช่อง Address ตัวบราวเซอร์เอง ก็จะพามายังหน้า ที่ให้คุณเลือก เปิดปิดฟังก์ชั่นต่างๆได้ตามใจชอบ แต่การเปิดปิด ฟังก์ชั่นต่างๆนั้นอาจจะต้องระวังกันสักนิดนึงนะครับเพราะอาจจะทำให้การเข้าเว็บไซต์ได้ไม่สมบูรณ์เหมือนเดิมนั่นเอง หรือจะลองพิมคำว่า chrome://memory เพื่อดูการใช้งาน Memory ของเครื่อง ว่าใช้ไปมากน้อยแค่ไหน และ chrome://about ในหน้านี้ จะรวมคำสั่งและคีย์ลัดต่างๆเพิ่มเติมอีกมากมาย

สร้าง Account ใหม่ สำหรับผู้ใช้งาน Google Chrome

หากคุณใช้งาน Google Chrome ร่วมกับคนอื่น อาจจะเจอปัญหาในเรื่องของ History ปนกับคนอื่น Bookmark หรือ แม้แต่พาสเวิร์ดที่เคยกรอกบนเว็บไซต์ต่างๆ แต่บน Google Chrome คุณสามารถแยก Account การใช้งานได้ โดยข้อมูลต่างๆจะถูกเก็บที่ Account นั้นๆ นอกจากนี้ยังสามารถสร้าง User หรือ สลับการใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย เพียงแค่กด Ctrl + Shift + M ก็จะพบกับหน้าต่างสำหรับสลับ User หรือ สร้าง User ใหม่ทันที

เพ่ิม ฟังก์ชั่นใหม่ๆให้กับ Google Chrome ด้วย Extensions

สำหรับ Extensions บน Google Chrome นั้นมีให้เลือกมากมายหลากหลายความสามารถ ซึ่งจะว่าไปแล้วก็เหมือนกับเราโหลด แอพ มาติดตั้งบน Google Chrome นั่นเอง ซึ่งนอกจากจะมีส่วนเสริมที่ช่วยเรื่องความสามารถในการใช้งานแล้ว ยังมีเกมให้เลือกติดตั้งมากมายอีกด้วย ซึ่งจุดนีี้เองที่ช่วยให้ Google Chrome กลายเป็น Browser ที่มีความสามารถมากที่สุดตัวนึงเลยทีเดียวครับ โดยคุณสามารถเข้าไปดู Extension มากมายสำหรับ Google Chrome ได้ที่นี่เลย : https://chrome.google.com/webstore/category/extensions

Google Reader

แนะนำ Google Reader บริการอ่านข่าวจากหลายเว็บในหน้าเดียว

Google Reader บริการอ่านข่าวจาก RSS Feed จากเว็บต่างๆ เป็นการรวมข่าวจากหลายๆเว็บมาไว้ในหน้าเดียว เช่น ถ้าเราเป็นแฟนเว็บ Droidza.com Maahalai.com  และ Makky.in.th แทนที่เราจะมาเปิดเว็บติดตามข่าวทีละเว็บว่ามีอะไรเคลื่อนไหว แต่ Google Reader หน้าเดียวทำให้รู้ว่าเว็บไหนมีอัพเดทใหม่

วิธีเข้าใช้

เข้ามาที่  http://www.google.com/reader  (สำหรับสมาชิก Google)
เข้ามาหน้าแรกจะไม่มีอะไรเลย เราต้องเพิ่ม RSS Feed จากเว็บไซท์ของแต่ละเว็บ เช่น ฟีดของเว็บนี้  http://maahalai.com/feed/
กดปุ่ม SUBSCRIBE นำ RSS Feed มาใส่ แล้วกด Add
รายการ RSS Feed จากเว็บต่างๆที่เราใส่จะมาอยู่ในเมนู Subscriptions
ตัวอย่างหน้า Feed บางเว็บจะให้มาอ่านทั้งงบทความ คือเป็นเรื่องเต็มๆของข่าวรวมทั้งภาพประกอบ บางเว็บให้มาแค่หัวข้อกับข่าวย่อย ถ้าสนใจอ่านก็คลิ๊กไปที่หัวข้อแล้วจะลิ้งค์ไปที่หน้าเว็บให้อีกที
ถ้าจะลบ Feed เข้าไปที่ Feed ของเว็บที่จะลบ กด Feed Setting >> Unsubscribe

ส่งท้าย
Google Reader เหมาะกับบล็อกเกอร์ เว็บมาสเตอร์ หรือนักอ่านที่เป็นแฟนคลับหลายเว็บ  สำหรับนักท่องเว็บทั่วไป Google Reader ดูไม่ค่อยน่าใช้เท่าไหร่มันดูไม่มีสีสันนะในความเห็นของผม แต่ถ้าคุณเป็นคนที่ในแต่ละวันจะพลาดข่าวใหม่ไม่ได้  คงต้องหันมาเรียนรู้ Google Reader อย่างจริงจังแล้วล่ะ

Google Apps Premier Edition

การซื้อ Premier Edition เฉพาะบางส่วน

Google Apps ไม่สนับสนุนการใช้บัญชีผู้ใช้ทั้ง Standard Edition และ Premier Edition ในโดเมนเดียวกัน ขณะนี้คุณสามารถลงชื่อสมัครใช้งานหรืออัปเกรดทั้งโดเมนเป็น Google Apps Premier Edition และคุณจะต้องซื้อบริการที่อัปเกรดแล้วสำหรับทุกบัญชีผู้ใช้ที่ใช้งานอยู่ที่โดเมนของคุณ
หากคุณไม่ต้องการอัปเกรดบัญชีที่มีอยู่ทั้งหมดที่โดเมนของคุณ คุณสามารถลบบัญชีผู้ใช้เพิ่มเติมใดๆ ได้ในแผงควบคุมของผู้ดูแลระบบ ตามค่าเริ่มต้น เราจะอัปเกรดเฉพาะผู้ใช้ที่ใช้งานเท่านั้น ไม่ใช่บัญชีทั้งหมดที่ได้รับการอนุมัติสำหรับโดเมนของคุณ
หากคุณต้องการซื้อบัญชีผู้ใช้เพิ่มเติม คุณสามารถซื้อได้เมื่อคุณอัปเกรดโดเมน หรือคลิก 'ซื้อบัญชีผู้ใช้เพิ่มเติม' ได้ตลอดเวลาใน Premier Edition รายละเอียดเกี่ยวกับการซื้อบัญชีเพิ่มเติม
หากคุณกำลังหาวิธีในการสร้างที่อยู่อีเมลเพิ่มเติมโดยไม่ซื้อบัญชีผู้ใช้เพิ่ม โปรดทราบว่าคุณสามารถ เพิ่มชื่อเล่น รายชื่ออีเมล และ ชื่อแทนโดเมน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย วิธีนี้จะช่วยให้คุณส่งและรับอีเมลจากที่อยู่อีเมลต่างๆ ได้ หรืออีกทางเลือกหนึ่ง คุณสามารถสร้างโดเมนย่อยใหม่เป็นโดเมน Google Apps Premier ตัวอย่างเช่น user@na.theurbanexperience.org และใช้อีเมลนี้ในการจัดการบัญชีที่เทียบเท่าในโดเมน theurbanexperience.org ของ Google Apps Standard
ตัวเลือกอื่นๆ คือการใช้ อีเมลเกตเวย์ การตั้งค่านี้ทำให้คุณมีตัวเลือกเพื่อที่จะมีอีเมลสำหรับผู้ใช้จำนวนหนึ่งหรือทั้งหมดในการส่งไปยัง Google และบริการภายในที่มีอยู่ของคุณ
นอกจากตัวเลือกข้างต้นแล้ว เครือข่ายพันธมิตรยังสามารถช่วยเหลือคุณด้วยการตั้งค่าอีเมลที่หลากหลาย เช่น การใช้งานแบบคู่ พันธมิตรของเราจะโฆษณาบริการต่างๆ ใน Google Apps Marketpl

Google Onebox

Google Onebox
ข่าวนี้พออ่านจาก blognone ปั๊ปขอพูดถึงงหน่อยเถอะ เพราะสำหรับผมแล้วรู้สึกไดถึงความน่ากลัวของ Google โดยทันที ด้วยพลังการค้นหาที่แทบจะทุกคนบนโลกไซย์เบอร์ต้องใช้มันแทบจะทุกวัน เมื่อผนวกกับบริการ Google OneBox เข้าไป ผมเชื่อว่าไม่นานต้องได้รับความนิยมแน่นอน พูดง่ายๆคือติดตลาดได้ไม่ยากนัก และคนที่ได้รับอนิสงค์ไปเต็มๆคงนี้ไม่พ้น ผู้ให้บริการอย่าง imeem, lala, MySpace (ซึ่งเพิ่งซื้อ iLike ไป), Pandora และ Real Rhapsody ซึ่งช่วยให้บริษัทเหล่านี้ขายเพลงได้มากขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัยเลย iTunes ที่ว่าแน่ งานนี้มีหนาว ส่วนรายละเอียดข่าวอยู่ด้านในครับ
กูเกิลจับมือกับผู้ให้บริการเพลงออนไลน์หลายยี่ห้อ เปิดความสามารถใหม่ Onebox ซึ่งช่วยให้เราทดลองฟังเพลงได้จากหน้าค้นหาของกูเกิล
กูเกิลบอกว่าผู้ใช้นั้นค้นหาเพลงกันเยอะมาก (2 ใน 10 ของคีย์เวิร์ดยอดนิยม เป็นคำที่เกี่ยวกับเพลง) แต่ปัญหาคือค้นเจอเว็บแล้วกว่าจะเข้าไปถึงตัวเพลงต้องกดอีกหลายคลิกและใช้ เวลาอีกมาก ดังนั้น Onebox จึงออกมาแก้ปัญหา โดยเมื่อเราค้นหาเพลงที่ต้องการ ถ้าเป็นเพลงดังหน่อยจะสามารถสั่งเล่นเพลงได้จากหน้าค้นหาเลย
ฟีเจอร์นี้ของกูเกิลจะรวมเข้ากับระบบค้นหาหลัก (แบบเดียวกับที่เราเจอวิดีโอจาก YouTube ในผลการค้นหา) กูเกิลจะเริ่มปล่อยฟีเจอร์นี้สำหรับสหรัฐในเร็วๆ นี้ ตอนนี้ดูวิดีโอเดโมกันไปก่อน
ทันทีที่กูเกิลแถลงข่าวนี้ ยาฮูก็ตอบโต้ทันทีว่าตัวเองมีฟีเจอร์นี้นานแล้ว (ไม่มีใครรู้นะเนี่ย เป็นบริษัทที่น่าสงสารเหมือนกันแฮะ) ใครสนใจทดลองเล่นได้ทันที

ggogle scholar

Google Scholar คืออะไร
     ถ้าคุณเป็นนักวิจัย คุณเป็นนักการศึกษา นิสิตปริญญาโท ปริญญาเอก พลาดไม่ได้ที่จะลองเข้าไปใช้ ค้นคว้าหาความรู้จาก Google Scholar  เพราะที่นี่คุณสามารถจะค้นคว้า หา บทความจากวารสารทางวิชาการที่ มี peer-reviewed ,หนังสือ ,เอกสารอ้างอิง จากแวดวงวิชาการในมหาวิทยาลัยดังๆ http://scholar.google.com/ Google Scholar จะช่วยในการสืบค้น บทความ หนังสือและวารสารทางวิชาการ จากมหาวิทยาลัย ที่ตีพิมพ์ ที่มีทั้งฟรีและต้องซื้อ ซึ่งมีฐานข้อมูลที่มหาวิทยาลัยจัดหาผ่าน สกอ.ไว้แล้วหลายฐานข้อมูลเช่นฐานข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์

เมื่อค้นหาข้อมูลพบ ถ้าเป็นฐานข้อมูลที่มหาวิทยาลัยสามารถใช้ได้ ผู้ใช้ก็จะสามารถเข้าถึง Full Paper ได้ทันที นอกจากนี้ถ้าเอกสารดังกล่าวมีการอ้างอิงบรรณานุกรมไว้ Google Scholar ก็จะช่วยค้นหาและทำลิ้งให้ด้วยซึ่งจะสะดวกอย่างมากสำหรับนักวิจัย หวังว่าเพื่อนๆ และนิสิต คงจะได้ใช้ประโยชน์จากการใช้ Google Scholar นะครับ เสียอย่างเดียวที่ที่บ้านผมไม่ได้ต่ออินเทอรเน็ตผ่านมอ ทำให้ไม่สามารถเข้าใช้ฐานข้อมูลจากสำนักหอสมุดได้ แต่เมื่อสองวันก่อนที่ผมได้มีโอกาสร่วมประเมิน Citcoms  อ.เสรี ชิโนดม เล่าให้ฟังว่าที่มหาวิทยาลัยบูรพากำลังให้นิสิตสาขาคอมพิวเตอร์ เขียนโปรแกรม แปลง IP Address สำหรับผู้ใช้ภายนอกที่เข้าเว็บผ่านเว็บของมหาวิทยาลัย และทำการ Authen แสดงตัวว่าเป็นผู้ใช้เครือข่ายด้วย User Name Password ของมหาวิทยาลัย โปรแกรมจะทำการแปลง IP Address ภายนอกให้เป็น IP ของมหาวิทยาลัย และจะสามารถเข้าไปใช้ฐานข้อมูลต่างๆ ของมหาวิทยาลัยที่สมัครไว้ และต้องใช้ IP Address ของมหาวิทยาลัยในการเข้าใช้ฐานข้อมูล ซึ่งถ้าทาง Citcoms  ทำอย่างนั้นบ้างก็จะเป็นประโยชน์ต่อนักวิจัย นิสิตนักศึกษา ที่อยู่ภายนอก สามารถค้น หางานวิจัย และใช้ฐานข้อมูลมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ เพราะเรามีศูนย์ กระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ เช่น เชียงใหม่ กรุงเทพฯ พะเยา นครสวรรค์
คำตอบที่ 2
Google Scholar คืออะไร
 พูดถึง Google ทุกท่านคงรู้จักดี ซึ่งระยะหลัง Google ออกบริการใหม่ ๆ มาหลายอย่าง และเป็นรู้จักกันดี อาทิเช่น iGoogle, อีเมลของ Google (Gmail), google map เป็นต้น และยังมีอีกบริการหนึ่งที่หลายท่านอาจยังไม่รู้จัก หรือยังไม่เคยใช้บริการ คือ Google Scholar ซึ่งเป็นบริการเว็บสืบค้นงานเขียน และสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ (Web search engine) ที่น่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ต้องการค้นหาข้อมูลทางวิชาการ โดยเฉพาะนักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และผู้ที่สนใจ
สำหรับ Google Scholar เป็นบริการที่มีมานานแล้ว ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2547 โดยออกเป็น beta version และทุกวันนี้ก็ยังคงเป็น beta อยู่ และอาจเพราะเป็นบริการที่ออกมานานแล้วเลยทำให้เป็นบริการที่ไม่เป็นที่รู้จักของหลายๆ  คน

Google Scholar เป็นวิธีการค้นหาที่ง่าย ๆ ในการค้นหางานเขียนทางวิชาการได้อย่างกว้างขวาง คุณสามารถค้นหาในสาขาวิชาและแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ได้มากมายได้จากจุดเดียว : ไม่ว่าจะเป็นบทความ peer-reviewed วิทยานิพนธ์ หนังสือ บทคัดย่อ และบทความจากสำนักพิมพ์ทางวิชาการ แวดวงวิชาชีพ ที่เก็บร่างบทความ มหาวิทยาลัย และองค์กรด้านการศึกษาอื่น ๆ

google app

                  Google Apps Business มีอะไรบ้าง

Google Apps ทำอะไรบ้าง

Google Mail มีพื้นที่ในการจัดเก็บอีเมล์ค่อนข้างใหญ่ ทำให้เราไม่จำเป็นต้องเข้ามาลบอีเมล์บ่อยๆสามารถเก็บอีเมล์ได้หลายๆเดือน โดยที่อีเมล์ไม่มีการสูญหาย บริการปฏิทินแบบออนไลน์ของ Google (Google Apps Calendar) ซึ่งทำให้สามารถเก็บ ข้อมูลเหตุการณ์ต่างๆ รวมไว้ในที่เดียวกันได้
โปรแกรมการจัดการเอกสารออนไลน์ (Google Apps Drive หรือ Google Apps Docs)หลักการทำงานจะคล้ายกับโปรแกรมเอกสาร  ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเอกสารแบบออนไลน์ได้โดยผ่านการใช้เว็บเบราว์เซอร์ต่างๆ การสร้างหน้าเว็บไซด์ (Google Apps Site)ซึ่งสามารถกำหนดได้ ว่าต้องการให้เว็บไซด์ของตัวเองออนไลน์ได้ทั่วโลกหรือ ให้ออนไลน์แค่ภายในองค์กรเดียวกัน
แอปพลิเคชันบนเว็บไซด์ที่มีคุณลักษณะการทำงานคล้ายๆ กับโปรแกรม  MSN (Google Talk) และยังสามารถสื่อสารด้วยเสียงผ่าน Internet Google Apps สามารถส่ง sms ไปยังหมายเลขที่ต้องการได้ ฟรี!! วันละ 50 ข้อความ ทำให้สามารถช่วยให้การทำงานของคุณ รวดเร็วขึ้น 
Google Apps Offline Google Apps สามารถใช้งานแบบ Google Offline เช็คอีเมล์และตอบกลับอีเมล์ โดยที่ยังไม่สามารถ Connect internet ได้    Google Apps Training อบรมการใช้งาน Google Apps for Business (ซึ่งรวมถึง Features ต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมกันของทั้ง Google Apps Standard และ Education Edition ด้วย) คอร์สต่าง ๆ ที่ใช้ในการอบรม

google maps

แนะนำ Google Map

GoogleMapsคือบริการเกี่ยวกับแผนที่ผ่านเว็บบราวเซอร์ของGoogleเราสามารถเปิดเว็บไซต์จากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ เพื่อเปิดใช้บริการแผนที่ของGoogleMaps

ความสามารถของ Google maps กับงานช่าง และงานท้องถิ่น เช่น
1. สามารถใช้วางแผนการเดินทางได้
2. สามารถตรวจสอบระยะทางถนนได้
3. สามารถตรวจสอบความกว้างยาว ของพื้นที่ ต่างๆ ได้
4. สามารถตรวจสอบเนื้อที่ ของพื้นที่ ที่เราต้องการได้
5. สามารถนำแผนที่ไปใช้งานได้ในเว็บของเราเอง เช่นกำหนดที่ตั้งของ อบต.
6. สามารถประยุกต์สร้างฐานข้อมูลเพื่อการใช้งานเช่น ระบบแผนที่ภาษีได้

จากภาพด้านบนจะบนว่า รูปแบบการแสดงแผนที่ มี 3 รูปแบบหลักคือ

1. แบบแผนที่ ตามตัวอย่างด้านบนครับ แสดงเป็นเส้นทางถนน ดูง่าย ซูมขยายได้เต็มที่ แต่ มีข้อด้อยคือเรา ไม่เห็นว่า ภูมิประเทศเป็นเช่นไร เป็นแผนที่แบนเรียบ
2. แบบดาวเทียม ซึ่งก็คือภาพถ่ายดาวเทียมแบบเดียวกับ Google Earth ครับ ข้อดีคือ เห็นเหมือนของจริงเลย มีข้อด้อยคือบางพื้นที่ ภาพเดียวเทียมยังไม่ชัด
3. แบบภูมิประเทศ ชื่อก็บอกอยู่แล้วครับ สามารถดูความสูงต่ำพื้นที่ได้ และก็มีรายละเอียด ถนนหนทางเหมือนแบบแผนที่

ตามที่เราทราบกันครับว่า Google maps เป็นบริการของ Google
เป็นบริษัท ของอเมริกา แต่ GooGle เองก็ให้ความสำคัญกับภาษาไทย เนื่องจาก จำนวนคนที่ใช้ภาษาไทย ก็ เกือย 5% ของ พลโลก

google picasa

Picasa เป็นโปรแกรมจัดการรูปภาพของ Google ที่แจกให้ใช้ฟรี เปิดตัวตั้งแต่ปี 2004  มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องมีบริการ Picasa Web Albums ร่วมด้วยให้สามารถอับโหลดไฟล์เก็บไว้บนเว็บได้ แบบฟรีให้พื้นที่ 1 GB   มีความสามารถในการจดจำใบหน้าของคนในรูปได้
ค้นหา, จัดระเบียบ ทำให้เป็นระบบ และแบ่งปันรูปภาพของคุณ
Picasa เป็นโปรแกรมฟรีจาก Google ที่เราสามารถดาวน์โหลดได้จาก picasa.google.com มีประโยชน์ใช้สอยในการ:
-  ค้นหาและจัดระเบียบรูปภาพทุกรูป (ที่คุณต้องการ) บนคอมพิวเตอร์ของคุณให้เป็นระบบ
-  ใช้แก้ไขปรับแต่งรูปภาพและเพิ่มลูก เล่น effects บนภาพด้วยวิธีง่ายๆ ในไม่กี่คลิ๊ก
-  แบ่งปันรูปภาพให้กับคนอื่นผ่านอีเมล์ สั่งพิมพ์ออนไลน์ และแม้แต่อัพโหลดขึ้นบล๊อก

google calendar

ขั้นตอนการใช้งาน Google Calendar
          Google Calendar หรือ ปฏิทิน Google เป็นบริการปฏิทินและตารางนัดหมายฟรีของ Google ทำ ให้คุณสามารถที่จะบันทึกและจัดตารางกิจกรรมต่างๆ ที่จะทำในแต่ละวันไดอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะใน การนัดหมายกับผู้อื่นเพื่อจะตรวจสอบวันเวลาและวันที่ว่างตรงกันและยังสามารถ แจ้งเตือนกิจกรรมผ่านทางเมล์ได้ ซึ่งนับว่าเป็นบริการที่น่าสนใจอีกอย่างของ Google
 1. เข้าไปที่ Url : www.google.com คลิก ปฏิทิน ดังภาพ

 2. กรอก User และ Email ของ Gmail ลงไป แล้วคลิก ลงชื่อใช้งาน (User และ Password สอบถามจากผู้ดูแลระบบ)

3. ภายในปฏิทิน ก็จะแสดง ปฏิทินของ วันที่ 7 กรกฎาคม 2012 ซึ่งในที่นี้ แสดงในรูปแบบเดือน

 4. รูปแบบมุมมองของปฏิทิน จะมีหลักๆ อยู่ 5 รูปแบบดังภาพ

  5. ยกตัวอย่างการแสดงรูปแบบของปฏิทิน แบบเดือน

  6. ต้องการสร้างกิจกรรม ให้คลิกวันที่ ที่เราต้องการสร้างกิจกรรม แล้วกรอก หัวข้อเหตุการณ์ ในที่นี้กรอกว่า ไปเที่ยวทะเลคลิกสร้างกิจกรรม

 7. เหตุการณ์หรือกิจกรรมที่เราสร้างขึ้น ก็จะแสดงให้เราเห็น ไปเที่ยวทะเล เป็นสีฟ้า

 8. หากเราต้องการแก้ไขกิจกรรมแบบละเอียด ให้คลิก แก้ไขกิจกรรม

 9. กรอก หัวข้อเหตุการณ์ และ สถานที่ ตามที่เราต้องการ เสร็จแล้วคลิก บันทึก

 10. สามารถสร้างกิจกรรมที่ 2 ภายในวันที่เดียวกันได้ โดยคลิกที่วันที่ นั้นๆ อีกครั้ง และกด แก้ไขกิจกรรม

 11. กรอก หัวข้อเหตุการณ์ที่ 2 และ สถานที่ ในที่นี้กรอกว่า เดินตลาด และ ชะอำ เสร็จแล้วคลิก บันทึก

 12. กิจกรรมก็จะแสดงให้เห็นทั้ง 2 กิจกรรม โดยเพิ่มขั้นมาอีกกิจกรรมหนึ่ง ภายในวันที่ 8 ก.ค.

 13. เราสามารถแชร์ปฏิทินและกิจกรรมของเราให้เพื่อนเห็นได้ ให้คลิก กิจกรรมนั้น และคลิก แก้ไขกิจกรรม

 14. ทำการกรอก Email ของ Gmail ลงในกรอบดังภาพ โดยกรอบจะอยู่ด้านขวาของ หน้าต่างแก้ไขกิจกรรมที่เคยเข้ามาแก้ไชรายละเอียดของกิจกรรมในข้อที่ 15

 15. เมื่อคลิกบันทึกแล้ว จะมีข้อความแสดงขึ้นมาว่าจะส่งคำเชิญไปให้ Email ที่เราต้องการแชร์ไป หรือไม่ให้เราคลิก ส่ง
 
 16. ในหน้าของผู้รับ หรือ ผู้ที่ถูกแชร์มา จะขึ้นข้อความและเนื้อหาของกิจกรรม และสามารถเข้าดูปฏิทินโดยคลิก ดูปฏิทินของฉัน ดังภาพ

  17. กิจกรรมก็จะแสดงให้เห็นและ มีรูป    ขึ้นมาต่อท้ายกิจกรรม แสดงว่ากิจกรรมนี้ มีผู้ร่วมกิจกรรมมากกว่า 1 คน

Google drive

ข้อดีของการใช้งาน Google Drive

          Google Drive เป็นโปรแกรมจัดการเอกสารออนไลน์ของทาง Google หลักการทำงานจะคล้ายกับโปรแกรมเอกสาร ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเอกสารแบบออนไลน์ได้โดยผ่านการใช้บเว็บเบราว์เซอร์ต่างๆ ซึ่งจะทำให้การใช้งานของเอกสารมีความสะดวกมากขึ้น
ข้อดีของการใช้งาน Google Drive มีดังนี้
  • ลดความซับซ้อนในการเก็บเอกสารหลายรูปแบบ หลายเว่อร์ชั่น
  • เอกสารนั้นๆ จะจัดเก็บไว้ที่  Server ของ Google ซึ่งมีความปลอดภัยที่สูง
  • ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมที่เครื่องคอมพิวเตอร์ให้ยุ่งยาก
  • ง่ายต่อการใช้งาน เพราะเหมือนทำงานโดยใช้โปรแกรม  Microsoft  Office
  • ไม่ต้องส่งเอกสารไปทางอีเมล์หรือ Copy ใส่ Thumb drive ไม่ต้องเสียเวลาในการส่งอีเมลล์กลับไปกลับมา หรือประสบปัญหาอีเมลล์ของผู้รับเต็มทำให้ไม่สามารถรับไฟล์เอกสารได้
  • ผู้มีส่วนร่วมทุกคนสามารถเข้าจัดการเอกสารได้ โดยไม่ต้องดาวน์โหลดเอกสารมาเก็บไว้เครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเอง
  • ควบคุมกำหนดสิทธิ์ว่าใครสามารถดู แก้ไข  เอกสาร ได้บ้าง
  • ทำงานบนเอกสารชิ้นเดียวกัน ขณะเดียวกัน ได้คราวละหลายๆ คน ซึ่งแต่ละคนสามารถเห็นว่าใครกำลังพิมพ์อะไรอยู่ แบบ Real-Time
  • ค้นหาข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว เพราะ Google เป็นหนึ่งทางด้านการค้นหาอยู่แล้ว สามารถค้นหาข้อความที่อยู่ในเอกสารได้ด้วยไม่ได้ทำการค้นหาเฉพาะชื่อไฟล์

gmail

จีเมล (Gmail) เป็นบริการอีเมลฟรีของกูเกิลผ่านทางระบบเว็บเมล POP และ IMAP โดยในขณะที่โปรแกรมยังอยู่ในระยะพัฒนา (เบต้า) จีเมลเปิดให้ผู้ที่ได้รับคำเชิญทดลองใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2547[2] และให้บริการแก่บุคคลทั่วไปเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 หลังจากนั้นจึงออกจากระยะพัฒนาพร้อมกับบริการอื่น ๆ ของกูเกิล แอปส์เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ปัจจุบันจีเมลรับรองการใช้งาน 54 ภาษารวมถึงภาษาไทย [3]
จีเมลเป็นผู้บุกเบิกการใช้ AJAX ที่ใช้งานจาวาสคริปต์และการใช้งานผ่านทางคีย์บอร์ด ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน ปัจจุบัน จีเมลเป็นบริการอีเมล์บนเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้มากที่สุดในโลก กล่าวคือมากกว่า 425 ล้านคน

การพัฒนา

ภาษาพัฒนา

การเริ่มโครงการจีเมลของ กูเกิลนั้นเริ่มพัฒนาขึ้นมาหลายปีก่อนที่จะเปิดให้บริการ โดยในระยะแรกเริ่มของการเปิดให้บริการ จะให้สิทธิ์ในการสมัครจีเมลโดยแจกจ่ายสิทธิทางอีเมลเชิญชวนเท่านั้น จนกระทั่งต่อมาจึงได้ยกเลิกการสงวนสิทธิ์ดังกล่าว โดยเปิดให้สมัครได้กับทางเว็บไซต์โดยตรง โดยหลักแล้วภาษาที่ใช้พัฒนาคือ AJAX เป็นภาษาที่ใช้ในเว็บรุ่น 2.0 (เน้นหนักไปที่ AJAXSLT framework[ต้องการอ้างอิง]) นอกจากนี้จะมีการเรียกใช้คุณสมบัติของ JavaScript ภายในเครื่องเพื่อการรับค่าแสดงผล จีเมลสามารถรับภาษาได้มากกว่า 52 ภาษาทั่วโลก
ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2549 จีเมลได้มีการทดลองก่อนที่ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์[4] ในญี่ปุ่น 3 กันยายน พ.ศ. 2549[ต้องการอ้างอิง] และในอียิปต์ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2549[5] นอกจากนั้นวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 เปิดให้ลงทะเบียนทั้งในยุโรป อเมริกากลาง และแอฟริกา[6] จนกระทั่งระบบรองรับการใช้งาน ทำการเปิดให้ลงทะเบียนใช้งานได้ทั่วโลกโดยไม่ได้ติดป้าย ทดลองใช้ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550[6]

เครื่องบริการ

ระบบปฏิบัติการที่ให้บริการจีเมลคือ เครื่องเซิร์ฟเวอร์ของกูเกิล GFE/1.3 server พร้อมระบบปฏิบัติการลินุกซ์[7][8]

พื้นที่เก็บอีเมล

ในระยะแรก จีเมลให้พื้นที่เก็บอีเมล 1 จิกะไบต์ต่อหนึ่งอีเมลของจีเมล และตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา[9] จีเมลจะเพิ่มพื้นที่ให้มากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน จีเมลให้พื้นที่เก็บอีเมลมากกว่า 10 จิกะไบต์ และยังคงเพิ่มขึ้นทีละน้อยอยู่ตลอดเวลา โดยหากมีการใช้งานมาก ต้องการความจุเพิ่มขึ้นจากที่ทางจีเมลให้บริการฟรี สามารถอัปเกรดได้โดยเสียค่าบริการเพิ่ม โดยความจุที่เพิ่มขึ้นจะใช้ร่วมกันระหว่างบริการ ปีกาซา กูเกิล ด็อกส์ และ จีเมล [10]

รูปร่างหน้าตา

โดยเริ่มแรก จีเมลยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการแสดงผลได้ แต่ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2008 จีเมลได้เพิ่มชุดรูปแบบกราฟิกการแสดงผล (สกิน) ของกูเกิลให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ได้
โปรแกรมท่องอินเทอร์เน็ตที่รองรับ
จีเมลสามารถแสดงผลได้ดีตามรายชื่อต่อไปนี้ : อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ 5.5+, มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ 1.0+, Safari 1.2.1+, K-Meleon 0.9+, Netscape 7.1+, Opera 9+, กูเกิล โครม โดยมีการเพิ่มโค้ดในการรองรับ Firefox 2.0+ และ Internet Explorer 7 / 8
จีเมลสามารถใช้งานแบบไม่มีการใช้จาวาและอาเจ็คได้โดยมีชื่อว่า "Basic HTML view" หรือแสดงผลแบบเอชทีเอ็มแอลปกติ ในกรณีที่ไม่สามารถใช้งานในแบบปกติได้ เช่น ใช้เว็บเบราว์เซอร์รุ่นเก่า หรือไม่ได้เปิดการทำงานของจาวาสคริปต์ไว้ จีเมลจะเข้าระบบเอชทีเอ็มแอลปกติ
คุณสมบัติอื่น ๆ
คุณสมบัติของจีเมล
  • รับรองระบบ POP3 IMAP และ SMTP รองรับการเพิ่มบัญชี 5 ชื่อ
  • มีระบบการค้นหาภายใน ทั้งที่เป็นอีเมลเฉพาะหมวดหมู่ที่ผู้ใช้กำหนดขึ้น และอีเมลทั้งหมด
  • สามารถแท็ก อีเมลเพื่อแยกเป็นหมวดหมู่ได้ มีป้ายกำกับให้โดยเฉพาะ
  • มีระบบป้องกันสแปมและป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์และระบบคัดกรองจดหมายขยะด้วยตนเองได้
  • มีบริการแชทจากหน้าจอเว็บเบราว์เซอร์ ที่เรียกว่า กูเกิลทอล์ก โดยรองรับการเชื่อมต่อด้วยกล้องแล้ว
  • มีระบบบันทึกอีเมลก่อนส่ง และระบบบันทึกอัตโนมัติ (auto-save) สามารถเซฟอีเมลที่เรากำลังพิมพ์อยู่ได้ ทำให้ถึงแม้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีปัญหา หรือเกิดไฟดับ เราอาจจะไม่ต้องมาพิมพ์ใหม่ทั้งหมดพร้อมทั้งการเก็บบันทึกไว้เป็บแบบร่างได้ทันที
  • สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบหน้าต่างของจีเมลได้
  • บริการทั้งหมดเป็นบริการฟรี ยกเว้นการซื้อพื้นที่เก็บอีเมลเพิ่มขึ้นจากพื้นที่ที่จีเมลจัดให้